เศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีการศึกษา
การใช้ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( sufficiency economy using for ICT) การใช้ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT ) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาข้อมูลและข่าวสาร การติดต่อ การทำกิจกรรมต่าง ๆ การ ส่งข้อมูลข่าวสาร และติดต่อปฏิสัมพันธ์กัน เป็นต้น
ปัญหาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่นับว่าทันสมัยและเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ปัญหาก็คือ 1. ตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีได้ดีมากน้อยแค่ไหน ใช้คุมค่าไหม จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยีชิ้นที่แพงนั้นหรือเปล่า 2. คนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า 3. บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริงในเรื่องเทคโนโลยีมีน้อย 4.การศึกษาของคนในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาการนำเทคโนโลยีมาใช้
การศึกษากับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้นต้นเหตุหลักประการหนึ่ง คือ การขาดโอกาสทางการศึกษา ความยากจน เป็นต้นเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังพุทธพจน์ว่า นัตถิ ปัญญา สมา อภา แสงสว่างเปรียบเสมือนปัญญาไม่มี ปัญญาก็คือตัวความรู้นั้นเอง ฉะนั้น รัฐ ต้องส่งเสริมให้คนทุกคนมีการศึกษาและคุณธรรมก่อน โดยเฉพาะให้การศึกษาเกี่ยวกับทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ในการประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยในการหาข้อมูล เพราะถือว่าในโลกอนาคตจะเป็นคลังอาวุธคลังปัญญาที่ดีเยี่ยม
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ ภาครัฐ สภาพแวดล้อม เช่นมหาวิทยาลัย สังคม ครอบครัว ตัวผู้ใช้ ( ต้องมีความกระตือรือร้นและยอมรับในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อแบบใหม่ที่นำ มาใช้ ) ต้องสนับสนุนส่งเสริมและต้องสนับสนุนส่งเสริมปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เช่น ให้เป็นนโยบายหลักของชาติ ให้งบประมาณมากเพียงพอ
การนำเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระ ราชดำรัส ได้แก่ รู้จักใช้ตามความจำเป็น และตามกำลังทรัพย์ของคนนั้น หรือเรียกว่ารู้จักใช้พอประมาณ ตามเหตุผล ไม่ไปตามกระแสโลกประกอบกับใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เช่น ไม่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด และหมั่นดูแลรักษาตลอดถึงในการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตามความจำเป็น
การเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นกระทรวง ศึกษาธิการดำเนินการด้วยการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านโครงการต่างๆ ในแต่ละระดับ ได้แก่
1.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อเป็นการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลอย่างยั่งยืน
2.การศึกษาเอกชน ได้จัดการประชุมสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการปฏิบัติงานโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
3.ระดับอาชีวศึกษา ได้มีการประชุมปฏิบัติการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ จัดการเรียนการสอน การบูรณาการกิจกรรม และการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
4.ระดับอุดมศึกษา ได้ให้สถาบันอุดมศึกษาน้อมนำพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เทคโนโลยีการศึกษากับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมตัวในการจัดการศึกษาเพื่อทำให้เข็มแข็ง สามารถสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้หมด โดยอาศัยการประยุกต์ใช้หลักพอประมาณ หลักมีเหตุผล หลักภูมิคุ้มกัน โดยกระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปสู่ปฏิบัติ การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาต้องคิดเอง เพราะแต่ละสถานศึกษาไม่เท่ากัน พัฒนาการสถานศึกษาทั้ง ๔ ภารกิจไม่เท่ากัน และตัวชี้วัดก็ต้องคิดเอง ถ้าทำอย่างนี้จะมีแผนพัฒนาสถานศึกษาที่บูรณาการรอบด้าน โดยสรุปแล้วเชื่อว่าปรัชญานี้มีประโยชน์ ถ้าทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง ผู้ปฏิบัติจะเกิดความสุขและความสำเร็จอย่างยั่งยืน
สรุบในความคิดของตนอง
เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆเเละยังมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ การนำเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระ ราชดำรัส ได้แก่ รู้จักใช้ตามความจำเป็น และตามกำลังทรัพย์ของคนนั้น หรือเรียกว่ารู้จักใช้พอประมาณ ตามเหตุผล ไม่ไปตามกระแสโลกประกอบกับใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เช่น ไม่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด และหมั่นดูแลรักษาตลอดถึงในการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตามความจำเป็น เศรษฐกิจพอเพียงกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ คือ อย่างแรก ต้องคำนึงถึงเรื่องการศึกษาเป็นสำคัญเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การเรียนรู้คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ สภาพแวดล้อม สังคม และโดยเฉพาะ ครอบครัวและตัวผู้ใช้เอง การรู้จักใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและตามความจำเป็น จะเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถจะนำไปประยุกต์ได้กับทุกสาขาอาชีพ ทุกสภาพการณ์ ทุกชีวิตของคนเรา ตั้งทั้งนี้ทั้งนั้น คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT ) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาข้อมูลและข่าวสาร การติดต่อ การทำกิจกรรมต่าง ๆ การ ส่งข้อมูลข่าวสาร และติดต่อปฏิสัมพันธ์กัน เป็นต้น
ปัญหาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่นับว่าทันสมัยและเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ปัญหาก็คือ 1. ตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีได้ดีมากน้อยแค่ไหน ใช้คุมค่าไหม จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยีชิ้นที่แพงนั้นหรือเปล่า 2. คนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า 3. บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริงในเรื่องเทคโนโลยีมีน้อย 4.การศึกษาของคนในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาการนำเทคโนโลยีมาใช้
การศึกษากับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้นต้นเหตุหลักประการหนึ่ง คือ การขาดโอกาสทางการศึกษา ความยากจน เป็นต้นเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังพุทธพจน์ว่า นัตถิ ปัญญา สมา อภา แสงสว่างเปรียบเสมือนปัญญาไม่มี ปัญญาก็คือตัวความรู้นั้นเอง ฉะนั้น รัฐ ต้องส่งเสริมให้คนทุกคนมีการศึกษาและคุณธรรมก่อน โดยเฉพาะให้การศึกษาเกี่ยวกับทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ในการประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยในการหาข้อมูล เพราะถือว่าในโลกอนาคตจะเป็นคลังอาวุธคลังปัญญาที่ดีเยี่ยม
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ ภาครัฐ สภาพแวดล้อม เช่นมหาวิทยาลัย สังคม ครอบครัว ตัวผู้ใช้ ( ต้องมีความกระตือรือร้นและยอมรับในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อแบบใหม่ที่นำ มาใช้ ) ต้องสนับสนุนส่งเสริมและต้องสนับสนุนส่งเสริมปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เช่น ให้เป็นนโยบายหลักของชาติ ให้งบประมาณมากเพียงพอ
การนำเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระ ราชดำรัส ได้แก่ รู้จักใช้ตามความจำเป็น และตามกำลังทรัพย์ของคนนั้น หรือเรียกว่ารู้จักใช้พอประมาณ ตามเหตุผล ไม่ไปตามกระแสโลกประกอบกับใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เช่น ไม่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด และหมั่นดูแลรักษาตลอดถึงในการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตามความจำเป็น
การเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นกระทรวง ศึกษาธิการดำเนินการด้วยการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านโครงการต่างๆ ในแต่ละระดับ ได้แก่
1.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อเป็นการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลอย่างยั่งยืน
2.การศึกษาเอกชน ได้จัดการประชุมสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการปฏิบัติงานโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
3.ระดับอาชีวศึกษา ได้มีการประชุมปฏิบัติการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ จัดการเรียนการสอน การบูรณาการกิจกรรม และการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
4.ระดับอุดมศึกษา ได้ให้สถาบันอุดมศึกษาน้อมนำพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เทคโนโลยีการศึกษากับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมตัวในการจัดการศึกษาเพื่อทำให้เข็มแข็ง สามารถสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้หมด โดยอาศัยการประยุกต์ใช้หลักพอประมาณ หลักมีเหตุผล หลักภูมิคุ้มกัน โดยกระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปสู่ปฏิบัติ การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาต้องคิดเอง เพราะแต่ละสถานศึกษาไม่เท่ากัน พัฒนาการสถานศึกษาทั้ง ๔ ภารกิจไม่เท่ากัน และตัวชี้วัดก็ต้องคิดเอง ถ้าทำอย่างนี้จะมีแผนพัฒนาสถานศึกษาที่บูรณาการรอบด้าน โดยสรุปแล้วเชื่อว่าปรัชญานี้มีประโยชน์ ถ้าทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง ผู้ปฏิบัติจะเกิดความสุขและความสำเร็จอย่างยั่งยืน
สรุบในความคิดของตนอง
เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆเเละยังมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ การนำเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระ ราชดำรัส ได้แก่ รู้จักใช้ตามความจำเป็น และตามกำลังทรัพย์ของคนนั้น หรือเรียกว่ารู้จักใช้พอประมาณ ตามเหตุผล ไม่ไปตามกระแสโลกประกอบกับใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เช่น ไม่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด และหมั่นดูแลรักษาตลอดถึงในการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตามความจำเป็น เศรษฐกิจพอเพียงกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ คือ อย่างแรก ต้องคำนึงถึงเรื่องการศึกษาเป็นสำคัญเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การเรียนรู้คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ สภาพแวดล้อม สังคม และโดยเฉพาะ ครอบครัวและตัวผู้ใช้เอง การรู้จักใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและตามความจำเป็น จะเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถจะนำไปประยุกต์ได้กับทุกสาขาอาชีพ ทุกสภาพการณ์ ทุกชีวิตของคนเรา ตั้งทั้งนี้ทั้งนั้น คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น